เมนู

[1224] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนัก
ปราชญ์ ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำ
ประโยชน์ให้สำเร็จ พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว
เหมือนพระราชาทรงสละแว่นแคว้นเสด็จไป
แต่พระองค์เดียวฉะนั้น หรือเหมือนช้างมา-
ตังคะ เที่ยวไปในป่าแต่ผู้เดียวฉะนั้น.
[1225] การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะ
คุณคือความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล
ควรเที่ยวไปผู้เดียวแต่ไม่ควรทำบาป เหมือน
ช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปใน
ป่าแต่ผู้เดียวแลไม่ทำบาป ฉะนั้น.

จบ โกสัมพิยชาดกที่ 2

อรรถกถาโกสัมพิยชาดกที่ 2



พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยเมืองโกสัมพีประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
ทรงปรารภเหล่าภิกษุที่ทะเลาะกันในเมืองโกสัมพี ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่ม
ต้นว่า ปุถุสทฺโท ดังนี้. เนื้อเรื่องมีมาแล้วในโกสัมพิกขันธกะ สำหรับ
ในที่นี้มีความย่อ ดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า คราวนั้นภิกษุสองรูป คือ พระวินัยธรหนึ่ง พระ-
ธรรมกถึกหนึ่ง อยู่ในอาวาสเดียวกัน ในสองรูปนั้น วันหนึ่งพระธรรม-
กถึกถ่ายอุจจาระ เหลือน้ำชำระไว้ในภาชนะในซุ้มน้ำออกไป พระวินัยธร
เข้าไปในที่นั้นทีหลังเห็นน้ำนั้นเข้า ออกมาถามพระธรรมกถึกว่า อาวุโส
ท่านเหลือน้ำไว้หรือ ? พระธรรมกถึกตอบว่า ขอรับผมเหลือไว้ พระ-
วินัยธรถามว่า ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติในข้อนี้หรือ ? พระธรรมกถึกตอบว่า
ขอรับผมไม่รู้ พระวินัยธรกล่าวว่า อาวุโส การที่ท่านเหลือน้ำไว้ใน
ภาชนะนั้นเป็นอาบัติ พระธรรมกถึกกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นผมจักปลงอาบัติ
พระวินัยธรกล่าวว่า อาวุโส ถ้าท่านไม่แกล้งทำไปโดยไม่มีสติก็ไม่เป็น
อาบัติ พระธรรมกถึกนั้นเข้าใจอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พระวินัยธรได้
บอกศิษย์ของตนว่า พระธรรมกถึกนี้แม้ต้องอาบัติก็ไม่รู้ พวกศิษย์ของ
พระวินัยธรเห็นพวกศิษย์ของพระธรรมกถึกเข้า กล่าวว่า อุปัชฌาย์ของ
พวกท่านต้องอาบัติแล้วยังไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ พวกศิษย์ของพระธรรมกถึก
ได้พากันไปบอกแก่อุปัชฌาย์ของตน พระธรรมกถึกกล่าวอย่างนี้ว่า
พระวินัยธรนี้ทีแรกบอกว่าไม่เป็นอาบัติ บัดนี้ว่าเป็นอาบัติท่านนี้พูดเท็จ
พวกศิษย์พระธรรมกถึกพากันไปกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดเท็จ
แล้วได้ทะเลาะกันด้วยประการอย่างนี้ ต่อแต่นั้นพระวินัยธรได้ช่องจึง
ทำอุกเขปนียกรรม ยกโทษในการไม่เห็นอาบัตินั้น ตั้งแต่นั้นมา อุบาสก
อุบาสิกาผู้ถวายปัจจัยแก่ภิกษุเหล่านั้นได้แบ่งเป็นสองพวก ภิกษุณีผู้รับ
โอวาทก็ดี อารักขเทวดาก็ดี อากาสัฏฐกเทวดาที่เคยเห็นเคยคบกับ

อารักขเทวดาก็ดี ตลอดถึงพรหมโลกบรรดาที่เป็นปุถุชน ได้แยกกัน
เป็นสองพวก ได้เกิดโกลาหลไปถึงภพชั้นอกนิษฐ์
ในอดีตกาล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูลลัทธิ
ของพวกภิกษุผู้ยกโทษว่า พระธรรมกถึกนี้ พวกเรายกโทษด้วยกรรม
อันเป็นธรรมทีเดียว และลัทธิของพวกภิกษุผู้ประพฤติตามพระธรรม-
กถึกผู้ถูกยกโทษว่า อาจารย์ของพวกเราถูกยกโทษด้วยกรรมอันไม่เป็น
ธรรม และภาวะที่พวกภิกษุเหล่านั้น แม้พวกภิกษุผู้ยกโทษห้ามอยู่ก็ยัง
เที่ยวตามแวดล้อมพระธรรมกถึกนั้น ให้พระศาสดาทรงทราบ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ทรงส่งภิกษุไปสองครั้งโดยมีพระพุทธดำรัสไปว่า ขอสงฆ์
จงสามัคคีกันเถิด ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะสามัคคีกัน
พระเจ้าข้า ในครั้งที่ 3 ทรงทราบว่า ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ภิกษุสงฆ์
แตกกันแล้ว จึงเสด็จไปยังสำนักของภิกษุเหล่านั้น ตรัสโทษในการยก
โทษของพวกภิกษุผู้ยกโทษ และในการไม่เห็นอาบัติของพวกภิกษุนอก
นี้แล้วเสด็จหลีกไป พระศาสดาทรงบัญญัติวัตรในโรงภัตว่า พึงนั่งใน
อาสนะที่มีอาสนะอื่นคั่นในระหว่าง แก่ภิกษุเหล่านั้นผู้ทำอุโบสถกรรม
เป็นต้นในสีมาเดียวกัน ณ โฆสิตารามนั่นแหละ แล้วเกิดร้าวรานกันอีก
ในโรงภัตเป็นต้น ได้ทรงสดับว่า บัดนี้ภิกษุเหล่านั้นยังร้าวรานกันอยู่
จึงเสด็จไปตรัสเตือนว่า อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย อย่าร้าวรานกันเลย ดังนี้
เป็นต้น เมื่อพระธรรมวาทีรูปหนึ่ง ซึ่งไม่ปรารถนาจะให้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ทรงลำบากกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์

ผู้ธรรมสามีจงยับยั้ง มีความขวนขวายน้อยอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมเถิด
พวกข้าพระองค์จักปรากฏด้วยการร้าวรานบาดหมางทะเลาะวิวาทกัน จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วในเมืองพาราณสีได้มี
พระราชาครองแคว้นกาสีมีพระนามว่า พรหมทัต ดังนี้ แล้วตรัสเรื่อง
ที่พระเจ้าพรหมทัตชิงราชสมบัติของพระเจ้าทีฆีติโกศล จับพระเจ้าทีฆีติ
โกศลซึ่งปลอมพระองค์ซ่อนอยู่ ให้ปลงพระชนม์เสีย และเรื่องที่ทีฆาวุ
กุมารถวายชีวิตแก่พระเจ้าพรหมทัต แล้วสองกษัตริย์สามัคคีกันแต่นั้น
มา ตรัสสอนว่า ภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้ทรงมีอาชญามีศัสตรา ยัง
มีขันติโสรัจจะถึงเพียงนี้ พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เราตถาคตกล่าวดี
แล้วอย่างนี้ พึงมีขันติและโสรัจจะ ข้อนี้จะเป็นความงามในธรรมวินัยนี้
แท้แล ตรัสห้ามถึงสองครั้งสามครั้งว่า อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย อย่าร้าว
รานกันเลย ทรงเห็นว่าไม่ลดละกันได้ จึงทรงดำริว่า พวกโมฆบุรุษ
เหล่านี้ ถูกกิเลสหุ้มห่อ ยากที่จะรู้สำนึก จึงเสด็จหลีกไป วันรุ่งขึ้น
พระองค์เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงพักในพระคันธกุฎีหน่อยหนึ่ง
ทรงเก็บเสนาสนะ ทรงบาตรและจีวรของพระองค์ ประทับในอากาศ
ท่ามกลางสงฆ์ ตรัสพระคาถาทั้งหลายนี้ว่า :-
คนพาลมีเสียงอื้ออึงเหมือนกันหมด แต่
สักคนหนึ่งก็ไม่รู้สึกตนว่าเป็นคนพาล เมื่อ

สงฆ์แตกกันก็ไม่รู้เหตุอันโดยยิ่งว่า สงฆ์แตก
กันเพราะเรา.
เพราะเป็นคนมีสติหลงลืม แต่ยังพูดว่า
ตนเป็นบัณฑิตมีวาจาเป็นอารมณ์ช่างพูด ย่อม
ปรารถนาจะให้เสียงออกจากปากอยู่เพียงใด ก็
พูดไปเพียงนั้น เขาถูกการทะเลาะนำไปแล้ว
ยังไม่รู้ว่าการทะเลาะนั้นเป็นโทษ.
ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้
ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้น
ได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของ
ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับได้.
ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธ
นั้นไว้ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา
คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา
เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับไปได้.

แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้ เวรย่อมไม่
ระงับด้วยเวร แต่ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จอง
เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.
ก็ชนเหล่าอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะ
พากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนชนเหล่า
ใดในหมู่นั้นย่อมรู้สึกได้ ความหมายมั่นกัน
ย่อมสงบระงับไป เพราะการทำไว้ในใจโดย
แยบคายของชนเหล่านั้น.
คนที่ปล้นแว่นแคว้นชิงทรัพย์สมบัติ
กันจนถึงปลงชีวิตลิดกระดูกกันแล้ว ก็ยังกลับ
สามัคคีกันได้ เหตุไรพวกเธอจึงไม่สามัคคี
กันเล่า.
ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญาเป็นนักปราชญ์
ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำประโยชน์
ให้สำเร็จ ควรชื่นชมมีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น
จะครอบงำอันตรายทั้งปวงได้.
ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนัก
ปราชญ์ ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำ

ประโยชน์ให้สำเร็จ พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว
เหมือนพระราชาทรงสละแว่นแคว้นเสด็จไป
แต่พระองค์เดียวฉะนั้น หรือเหมือนช้างมา-
ตังคะ เที่ยวไปในป่าแต่ผู้เดียวฉะนั้น.
การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะ
คุณคือความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล
ควรเที่ยวไปผู้เดียวแลไม่ควรทำบาป เหมือน
ช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปใน
ป่าแต่ผู้เดียวแลไม่ทำบาป ฉะนั้น.

ในพระคาถานั้น คนพาลชื่อว่ามีเรื่องอื้ออึงเพราะวิเคราะห์ว่า
มีเรื่องอึกทึกคือดังลั่น. บทว่า สมชฺโน คือเป็นคนที่เช่นเดียวกันหมดมี
คำที่ท่านอธิบายไว้ว่า คนที่ทำการทะเลาะกันนี้ทั้งหมดเทียว มีทั้งเสียง
อื้ออึงและเสมอเหมือนกัน เพราะเปล่งเสียงโดยรอบ
บทพระคาถาว่า น พาโล โกจิ มญฺญถ ความว่า บรรดา
คนพาลเหล่านั้นใคร ๆ แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกว่าตนเป็นคนพาลทั้ง
หมดล้วนสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตทั้งนั้น. อธิบายว่า คนผู้ทำการทะเลาะ
กันนี้ทั้งหมดนั่นแหละ ย่อมไม่รู้สึกว่าตนเป็นคนพาล. บทว่า นาญฺญํ
ภิยฺโย อมญฺญรุํ
ความว่า ใคร ๆ แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกว่าตนเป็น

คนพาล แลเมื่อสงฆ์แตกกันผู้อื่นแม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้เหตุนี้โดยยิ่งว่า
สงฆ์แตกกันเพราะเหตุแห่งเรา. บทว่า ปริมุฏฺฐา คือ เป็นคนมีสติหลง
ลืม. บทว่า ปณฺฑิตาภาสา ความว่า ชื่อว่าเป็นเช่นกับด้วยบัณฑิต
เพราะสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ท่านอาเทศราอักษรให้เป็นรัสสะ ว่า
วาจาโคจร ภาณิโน ดังนี้ อธิบายว่า มีวาจาเป็นอารมณ์ ไม่มีอริย-
ธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้นเป็นอารมณ์ และเป็นคนช่างพูด คือช่างเจรจา
ถ้อยคำ. บทว่า ยาวิจฺฉนฺติ มุขายามํ ความว่า ย่อมปรารถนาจะให้
เสียงออกจากปากอยู่เพียงใด ก็ยืนเขย่งเท้าพูดตะโกนออกไปเพียงนั้น
อธิบายว่า แม้สักคนหนึ่งก็ไม่กระทำการหุบปากเพราะเคารพในสงฆ์
บทว่า เยน นีตา ความว่า เขาถูกการทะเลาะใด นำไปแล้วสู่ความเป็นผู้
ไม่มีความละอายนี้. บทว่า น ตํ วิทู ความว่า เขายังไม่รู้การทะเลาะ
นั้นว่า การทะเลาะนี้มีโทษอย่างนี้. บทว่า เย จตํ อุปนยฺหนฺติ ความว่า
ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้น คือที่มีอาการว่าคนโน้นได้ด่าเราดังนี้
เป็นต้น. บทว่า สนนฺตโน แปลว่า เป็นของเก่า. บทว่า ปเร เป็นต้น
ความว่า คนที่ทำการทะเลาะกันนอกจากพวกบัณฑิต คือพวกอื่น ๆ นอก
จากพวกบัณฑิตนั้น ชื่อว่า ปเร. ปเรชนเหล่านั้นก่อความวุ่นวายขึ้นใน
ท่ามกลางสงฆ์นี้ ย่อมไม่รู้สึกว่าพวกเราจะพากันยุบยับ จะพากันย่อยยับ
คือพวกเราจะพากันฉิบหาย ได้แก่พวกเราจะพากันไปสู่ที่ใกล้คือสู่สำนัก
แห่งมัจจุราชเนือง ๆ. บทว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ความว่า ส่วน
ชนเหล่าใดในหมู่นั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมรู้สึกได้ว่าพวกเราจะพากันไปสู่

ที่ใกล้แห่งมัจจุราช. บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ชนเหล่านั้นเมื่อรู้อย่างนี้ ยังการทำไว้ในใจโดยอุบายอัน
แยบคายให้เกิดขึ้นแล้ว. ย่อมปฏิบัติเพื่อความเข้าไปสงบแห่งความหมาย
มั่นแห่งการทะเลาะกันได้. บทว่า อฏฺฐิจฺฉินฺนา ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ตรัสพระคาถานี้ ทรงหมายถึงพระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุ-
กุมาร แม้ทั้งของพระองค์นั้นก็ยังกลับสามัคคีกันได้ เหตุไรพวกเธอไม่
ได้ตัดกระดูกของมารดาบิดา ไม่ได้ปลงชีวิตกัน ไม่ได้ชิงทรัพย์สมบัติ
กัน จึงไม่สามัคคีกันเล่า.
ข้อนี้มีพระบรมพุทธาธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้ทรง
ถืออาชญาสิทธิ์ยังสามัคคีกัน สมาคมกัน ทำสัมพันธไมตรีกันด้วยอาวาห
และวิวาหมงคล แล้วทรงดื่มและทรงเสวยร่วมกันได้ถึงเพียงนี้ พวกเธอ
บวชในศาสนาเห็นปานนี้ ย่อมไม่อาจเพื่อสลัดแม้สักว่าเวรของตนออก
ได้ อะไรเป็นภาวะแห่งภิกษุของพวกเธอเล่า.
พระคาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงถึงคุณของสหายผู้เป็นบัณฑิต และโทษของสหายผู้
เป็นคนพาล. บทว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ ความว่า ควรชื่น
ชมมีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น จะครอบงำอันตรายที่ปรากฏและอันตราย
ที่ปิดบังทั้งปวงได้. บทว่า ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ความว่า พึงเที่ยวไป
ผู้เดียว เหมือนพระราชามหาชนกและอรินทมราชา ทรงสละแว่น

แคว้นของพระองค์เสด็จไปแต่พระองค์เดียวฉะนั้น. บทว่า มาตงฺครญฺ-
เญว นาโค
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกช้างว่ามาตังคะ
คำว่า นาคะนั้นเป็นชื่อแห่งช้างใหญ่ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ควรเที่ยว
ไปผู้เดียวและไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะผู้เลี้ยงดูมารดา เหมือน
ช้างสีลวหัตถี และเหมือนช้างปาริไลยกะ เที่ยวไปในป่าผู้เดียวและไม่
ทำบาปฉะนั้น.
พระศาสดาแม้ตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อยังไม่อาจให้ภิกษุเหล่านั้น
ปรองดองกันได้ จึงเสด็จไปยังพาลกโลณการามคาม ทรงแสดงอานิสงส์
ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียวแก่พระภัคคุเถระ จากที่นั้นเสด็จไปถึงที่อยู่ของ
กุลบุตรสามคน ทรงแสดงอานิสงส์ในสามัคคีรสแก่กุลบุตรเหล่านั้น ต่อ
จากนั้นเสด็จไปถึงปาริไลยกไพรสณฑ์ ประทับอยู่ ณ ที่นั้นตลอดสาม
เดือน ไม่เสด็จมาเมืองโกสัมพีอีก เสด็จไปเมืองสาวัตถีเลย.
พวกอุบาสกชาวเมืองโกสัมพีปรึกษากันว่า พระผู้เป็นเจ้าเหล่า
ภิกษุชาวโกสัมพีนี้ ทำความเสียหายให้แก่พวกเรามาก พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ทรงระอาภิกษุเหล่านี้ จึงหลีกไปเสีย พวกเราจักไม่กระทำสามี-
จิกรรมมีการกราบเป็นต้น แก่ภิกษุเหล่านี้เลย จักไม่ถวายบิณฑบาต
แก่ท่านที่เข้ามาบิณฑบาต เมื่อทำเช่นนี้ภิกษุเหล่านี้จักหลีกไปบ้าง จัก
ให้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เลื่อมใสบ้าง ดังนี้แล้วก็ทำตามที่ปรึกษากัน

นั้น ภิกษุเหล่านั้นถูก พวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้น จึงพากันไป
เมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พระราชบิดาในครั้น ได้มาเป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราชใน
บัดนี้ พระราชมารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระมหามายาในบัดนี้
ทีฆาวุกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาโกสัมพิยชาดกที่ 2

3. มหาสุวราชชาดก



ว่าด้วยสหายย่อมไม่ละทิ้งสหาย



[1226] เมื่อใด ต้นไม้มีผลบริบูรณ์ เมื่อนั้น ฝูง
วิหคทั้งหลาย ย่อมพากันมามั่วสุมบริโภคผลไม้
ต้นนั้น แต่โดยรู้ว่าต้นไม้สิ้นแล้ว ผลวายแล้ว
ฝูงวิหคทั้งหลายก็พากันจากต้นไม้นั้นบินไปสู่
ทิศน้อยทิศใหญ่.
[1227] ดูก่อนนกแขกเต้าผู้มีจะงอยปากแดง
ท่านจงไปยังที่ที่ควรไปเถิด อย่าได้มาตายเสีย
เลย เหตุไรท่านจึงซบเซาอยู่ที่ต้นไม้แห้ง ดูก่อน
นกแขกเต้า ผู้มีขนเขียวดุจไพรสณฑ์ในฤดูฝน
เชิญเถิด ขอท่านจงบอกเรื่องนั้น เหตุไรท่าน
จึงทิ้งต้นไม้แห้งไม่ได้.
[1228] ข้าแต่พระยาหงส์ ชนเหล่าใดแลเป็น
เพื่อนของพวกเพื่อน ในคราวร่วมสุขทุกข์จน
ตลอดชีวิต ชนเหล่านั้นเป็นสัตบุรุษ ระลึกถึง